นางสาวชนาพร คะดุลย์ รหัส 61450024
ขอนำเสนอทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
ขอนำเสนอทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
(Scientific
Management)
เพื่อประกอบการเรียนการสอนของ
รศ.ดร.วิชิต อู่อ้น
รศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

Frederic W.Taylor
ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
FredericW.Taylor ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (The Father
of Scientific Management) โดยเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ทดแทนจารีตประเพณีอันเป็นความเคยชินในการทำงาน
โดยสิ่งสำคัญที่สุด คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วยการคิดค้นการทำงานตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยนั่นคือ การสร้างหลักการบริหารต้องทำอย่างเป็นระบบ
โดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คือ กฎระเบียบ วิธีการในทำงาน
มาตรฐานการทำงานที่องค์การจะนำมาใช้ต้องผ่านการศึกษาวิเคราะห์เชิงประจักษ์เสียก่อน โดยมีการสังเกต
จับเวลา จดบันทึกวิเคราะห์วิจัยมาแล้วอย่างดีว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว
สามารถนำมาใช้ในการทำงานนั้นๆ ได้อย่างดี ซึ่งแนวคิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาจากจัดการบริการธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยเปรียบเทียบคนงานแต่ละคนเสมือนเครื่องจักร
ที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต และมีประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุด
โดยมีหลักการสำคัญ คือการสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์
โดยใช้หลัก Time and Motion Study แล้วกำหนดเป็น
One best Way เพื่อให้เกิดวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ Time
and Motion Study เวลาและการเคลื่อนไหว เพื่อให้วิธีการทางวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์แนวคิดที่ดีที่สุดก็คือ แบ่งงานกันทำ
ผู้ปฏิบัติระดับล่างจะต้องรับผิดชอบต่อระดับบน โดย Taylor เสนอระบบการจ้างงานโดยการสร้างแรงจูงใจ
ประกอบด้วย
3 หลักการ คือ
1.การแบ่งงาน (Division of Labors)
2.การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierachy)
3.การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment) The one best
way คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับ
-เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection) การคัดเลือกคนจะต้องมีการนำเอากฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มาช่วยในการคัดเลือก
เพื่อให้ได้คนงานที่มี ทักษะ ความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
-ฝึกอบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training) จะต้องมีการพัฒนาคนงานโดยการสอนวิธีการทำงานให้ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะขจัดวิธีการทำงานตามหลักความเคยชินให้หมดไป
-หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation) ต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายบริหารกับคนงาน
อันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน
การนำไปใช้ตามทฤษฎี "การจัดการอย่างมีหลักการ (Scientific management)" นี้เจ้าของทฤษฎีเห็นว่า สามารถนำไปใช้ได้กับขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกประเภท แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติความคิดเกี่ยวกับวิทยาการจัดการของทฤษฎีนี้ได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่าย
เช่น นักบริหารระดับ ผู้จัดการ หัวหน้างานที่ไม่มีความรู้/ ความคิดที่ Taylor ให้การยกย่อง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialist) ส่วนสหภาพแรงงานก็ต่อต้านเพราะรู้สึกว่า Taylor มองคนเหมือนหุ่นยนต์ แต่แนวคิดของทฤษฎีดังกล่าวก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในวงการบริหารการศึกษา เช่นเดียวกับวงการอื่น ๆ มากมาย เช่น ในการสอบคัดเลือกคนที่มีความรู้
ทักษะ มาเพื่อให้ตรงกับความต้องการขององค์กรหรือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน เช่น
ในเรื่องของการให้ incentive ซึ่งจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานเพื่อเพิ่มยอดขายของร้านบ้านใบกะเพรา
เป็นต้น
จบการนำเสนอขอบคุณค่ะ
เยี่ยมมาก
ตอบลบทฤษฎี Harrington Emerson
ตอบลบเป็นทฤษฎีการบริหารเชิงพฤติกรรมโดย Harrington ได้กล่าวถึงแนวการทำงานเพื่อให้ได้มาตรฐาน โดยนำไปใช้จนเป็นที่ยอมรับ และสร้างชื่อให้แก่ Harrington Emerson และได้นำไปใช้ปรับปรุงพัฒนากิจการรถไฟ สายแซนทาฟ ให้มีประสิทธิภาพ ปรากฏว่าได้ผลดี สามารถประหยัดเงินได้ถึงวันละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และเขาคือวิศวกรของอเมริกา ทำงานในอุตสาหกรรม และบริหารองค์กร Harrington Emerson มีแนวคิดคือได้นำเอาวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาบริหารงานในองค์กร การบริหารแบบวิทยาศาสตร์คือ จะต้องมีการค้นพบ และทดลองเป็นอย่างดีว่า วิธีการนั้นได้ผลจริง เมื่อประเมินผลแล้วสามารถบอกได้ว่า อะไรที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ แล้วนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมากำหนดเป็นหลักการบริหาร ใช้เพื่อปรับปรุงกับการจัดการกับประสิทธิภาพของคน โครงสร้าง และเป้าหมายขององค์กร เพื่อผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล
ข้อดี และข้อเสียของแนวคิดนี้
ข้อดีของแนวทางการบริหารในทฤษฎีนี้ ได้นำเอาหลักของวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีการนำมาทดลองปฏิบัติหลายครั้งแล้ว เมื่อประเมินผล สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพเพียงไร โดย Harrington Emerson ได้นำไปใช้ในการบริหารมากกว่า 200 องค์กร
ข้อเสียนั้นแนวคิดนี้ จะแบ่งงานออกเป็นย่อย ๆ ถือเอาความรวดเร็ว ให้คนทำงานเฉพาะอย่าง ถือความชำนาญเป็นแนวในการปฏิบัติ ซึ่งอาจต้องสิ้นเปลืองคน โดยในยุดต่อมา ได้มีนักทฤษฎีได้ให้ความเห็นถึงข้อเสียในเรื่องนี้เช่นกัน
ทฤษฎี Maslow
ตอบลบMaslow มองว่ามนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพพอสำหรับที่จะชี้นำตัวเอง มนุษย์ไม่อยู่นิ่งแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ ที่แวดล้อมและแสวงหาความต้องการที่จะเข้าใจตนเอง ยอมรับทั้งในส่วนดีส่วนบกพร่อง รู้จักจุดอ่อน และความสามารถของตนเอง เขายังเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็น "สัตว์ที่มีความต้องการ" และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ Maslow ได้อธิบายว่า เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจ และเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วก็ยังคงเรียกร้องความ พึงพอใจสิ่งอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ Maslow กล่าวว่า ความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิด และความปรารถนาเหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนาตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นเป็นลำดับ
ข้อดี
เข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า นักการตลาดจะวิเคราะห์ประวัติความต้องการของลูกค้า
รู้วิธีดำเนินการทางการตลาด เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้
ข้อเสีย
1. มุมมองนี้เป็นมุมมองถูกจัดว่าเป็นมุมมองแบบปัจเจกนิยมซึ่งเน้นตนเองมากกว่าสังคมแบบคติรวมหมู่โดยในสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม ความต้องการการยอมรับและกลุ่มสังคมจะมีความสำคัญเหนือกว่าความต้องการอิสรภาพและความเป็นตัวของตัวเอง กล่าวคือลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ไม่สามารถใช้กับทุกคนได้
2. ปัจจุบันความต้องการของลูกค้าไม่ได้เป็นไปตามลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
ทฤษฎี Luther Gulick
ตอบลบPOSDCoRB คือ หลักในการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้งในภาครัฐ และ เอกชน ที่ผู้มีอำนาจบริหารมีหน้าที่ และ บทบาทการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ
P- Planning หมายถึง การวางแผน ได้แก่ การจัดวางโครงการและแผนงานต่างๆ ขึ้นมาไว้ล่วงหน้า
O-Organizing หมายถึง การจัดองค์การ ได้แก่ การแบ่งงาน การกำหนดส่วนงาน โครงสร้างขององค์การ การกำหนดตำแหน่งงานต่างๆ พร้อมกับอำนาจหน้าที่
S-Staffing หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์การ นับตั้งแต่ การจัดอัตรากำลัง การสรรหา การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งบุคคล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน การโยกย้าย การพัฒนาบุคคลในองค์การเรื่อยไปจนกระทั่งการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง
D-Directing หมายถึง การอำนวยงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ การออกคำสั่ง มอบหมายภารกิจการงานไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หลังจากนั้นต้องใช้ภาวะของการเป็นผู้นำในการกระตุ้นจูงใจคนให้ยอมรับในผู้บริหาร
Co- Coordinating หมายถึง การประสานงาน ได้แก่ การทำหน้าที่ในการประสานกิจกรรมต่างๆ ที่ได้มีการแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนงานย่อยๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
R- Reporting หมายถึง การรายงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการรับฟังรายงานผลการฏิบัติงานของบุคคลและหน่วยงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้รายงานมา การรายงานถือเป็นมาตราการในการตรวจสอบและควบคุมงานด้วย
B- Budgeting หมายถึง การงบประมาณ ได้แก่ หน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงินและการตรวจสอบควบคุมด้านการเงิน การบัญชีของหน่วยงาน
ทฤษฎีของ Peter F. Drucker การบริหารจัดการสมัยใหม่
ตอบลบหลักการและแนวคิด Peter F. Drucker เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ เขามีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการองค์กรที่แตกต่างอย่างมาก จากนักคิดด้านการบริหารรุ่นใหม่ๆ ที่การนำเสนอแนวคิดการบริหารธุรกิจ จะมีหลักวิชาการรองรับและมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบแผน แต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือ ความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆ ของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ ทฤษฎีการบริหารจัดการของ ประกอบด้วย
1. การวางแผน (Planning) เป็นการกำหนดหน้าที่การงานที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยกำหนดว่าจะดำเนินการอย่างไรและดำเนินการเมื่อไร เพื่อให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ การวางแผนต้องครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการมอบหมายงานให้บุคลากรในแผนกหรือฝ่ายได้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ เมื่อแผนกหรือฝ่ายประสบความสำเร็จก็จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จไปด้วย
3. การนำ (Leading) เป็นการจูงใจ การชักนำ การกระตุ้นและชี้ทิศทางให้ดำเนินไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยการเพิ่มผลผลิตและเน้นมนุษยสัมพันธ์ทำเกิดระดับผลผลิตในระยะยาวที่สูงกว่าภาวะงาน เพราะคนมักไม่ค่อยชอบภาวะงาน
4. การควบคุม (Controlling) เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะต้อง รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลดำเนินงาน เปรียบเทียบผลงานปัจจุบันกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ทำการตัดสินใจไปตามเกณฑ์หรือไม่